แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563

ยาอัลจิเนต ได้รับการแนะนำให้ใช้ในแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
ในประเทศไทย พ.ศ. 2563 สามารถใช้ได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และเมื่อใช้คู่กับ PPI
สามารถบรรเทาอาการได้ดีกว่า การรับประทานยา PPI เพื่อลดกรดเพียงอย่างเดียว
โดยยาอัลจิเนตที่มีประสิทธิภาพเมื่อใช้คู่กับ PPI ต้องเป็นยาอัลจิเนต
ที่มีส่วนประกอบของไบคาร์บอเนต

ซึ่งมีอยู่ในยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากประเทศ อังกฤษ เท่านั้น*

โดยเนื้อหาหลักๆมีดังต่อไปนี้

Page 42: ยา Alginate อาจมีประโยชน์โดยใช้เสริมเพื่อควบคุมอาการของกรดไหลย้อนที่ดีกว่าการ
ใช้ยา PPI เพียงอย่างเดียว (ขนาดที่แนะนำ คือ 10-20 ml วันละ 4 เวลา หลังอาหาร
และก่อนนอน)

Page 48: เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องแต่ไม่พบความผิดปกติ พบว่าการ add on Alginate คู่กับ PPI ดีกว่าการใช้ PPI เพียงอย่างเดียว (ร้อยละ 56.7 เทียบกับร้อยละ 25.7)
ทั้งนี้รูปแบบของ Alginate ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ โดยจากการศึกษาถึงการใช้ non-bicarbonate alginate เป็น add on therapy กลับไม่พบประโยชน์ด้วยการรักษาวิธีนี้

Page 61: ผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่ไม่รุนแรง การให้ยากลุ่ม Alginate เมื่อมีอาการก็สามารถบรรเทา อาการของกรดไหลย้อนได้ดีกว่ายาหลอกและ Antacids

Page 68: ผู้ป่วยกรดไหลย้อนที่มีหลอดอาหารอักเสบ การใช้ Sodium Alginate ร่วมกับยา PPI สามารถช่วยลดอาการ และลดจำนวน Total Reflux Number ได้มากกว่าการให้ยา PPI อย่างเดียว

Page 53: Alginate เป็นยาที่มีประสิทธิภาพและได้รับการพิจารณาว่าใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิง ตั้งครรภ์ที่มีอาการ heartburn

*Thai Neurogastroenterology and Motility Society (2020). Thailand GERD guideline 2020. Bangkok. Printable1

สามารถอ่านเนื้อหา แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ฉบับเต็มได้ที่นี่

คลิ๊กเพื่ออ่าน