อาการอาหารไม่ย่อย

อาการอาหารไม่ย่อยสามารถพบได้บ่อยและโดยมากก็ไม่ใช่สัญญาณอันตราย
ส่วนมากอาจมีอาการปวดเกิดขึ้นเฉียบพลันไม่นานภายหลังรับประทานอาหาร

สาเหตุและอาการ

คนส่วนใหญ่ล้วนสามารถเผชิญกับอาการอาหารไม่ย่อยในลักษณะใดลักษณะหนึ่งได้ทั้งนั้น

แน่นอนว่าบางครั้งอาการก็อาจรุนแรงมากเป็นพิเศษ
และอาจเกิดขึ้นได้ปีละหลายครั้งหรือกระทั่งวันละหลายครั้ง

อาหารไม่ย่อยยังพบบ่อยในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างร่างกายส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมน ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าการตั้งครรภ์

อาการอาหารไม่ย่อย

สัญญาณของอาหารไม่ย่อยมีดังนี้:

  • รู้สึกแน่นท้อง หรือ ไม่สบายท้องหลังรับประทานอาหาร
  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณท้อง
  • ท้องลั่นโครกคราก
  • ท้องเกร็ง
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • เรอเปรี้ยว

สาเหตุของอาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อยมักเกิดจากกรดส่วนเกินไหลมาที่เยื่อบุส่วนที่บอบบางของกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหลอดอาหารส่งผลให้ให้เกิดอาการปวดบวม อาหารไม่ย่อยอาจทำให้เกิดความรู้สึกปวดแสบร้อนในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในผู้ที่เยื่อบุทางเดินอาหารบอบบางเป็นพิเศษ

อาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายปัจจัย และปัจจัยกระตุ้นอาจต่างกันในแต่ละคน

สาเหตุหลักของอาหารไม่ย่อยประกอบด้วย:

  • รับประทานอาหารมื้อใหญ่
  • รับประทานเร็วเกินไป
  • ของมันหรือของเผ็ด
  • ความเครียดและวิตกกังวล
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่

คำถามที่พบบ่อย

อาหารไม่ย่อยสามารถเกิดได้ตลอดเวลาและอาจเป็นผลจากเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เครียดเกินไป หรือปัจจัยอื่นๆ
อย่างไรก็ดีอาหารไม่ย่อยไม่ใช่เรื่องที่ต้องวิตกกังวลจนเกินไป
แต่หากท่านมีอาการจุดเสียดจากอาหารไม่ย่อยต่อเนื่องมาแล้วระยะหนึ่งควรปรึกษาแพทย์

อาหารไม่ย่อยอาจทำให้เกิดอาการตั้งแต่จุดเสียดและปวดท้องไปจนถึงท้องผูกและท้องเสีย
อาหารไม่ย่อยยังอาจทำให้เกิดต่างๆ เช่น กรดไหลย้อน ท้องอืด มีแก๊สในทางเดินอาหารมากผิดปกติ เวียนศีรษะ หรือท้องผูกได้อีกด้วย

ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน ของทอด ของมัน หรือของเผ็ด รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์
น้ำอัดลม ช็อคโกแลต ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นหูรูดหลอกอาหารส่วนล่างให้เปิด
นอกจากการเลี่ยงอาหารจำพวกนี้ยังควรปรับพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาะสมด้วย
เช่นการรับประทานมากเกินไปหรือเร็วเกินไป

การรักษา

อาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยที่เกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป
สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาลดกรด
แต่ยังมีความเข้าใจที่ผิดๆบางอย่างเกี่ยวกับยาลดกรด ตัวอย่างเช่น คนทั่ว ๆ ไปมักคิดว่ายาลดกรด
กับยาธาตุน้ำขาว คือยาตัวเดียวกัน มีสรรพคุณลดกรดในกระเพาะอาหารที่เหมือน ๆ
กันเพราะลักษณะเป็นน้ำสีขาวเหมือนกัน
แต่ไม่เป็นความจริง
เรามาดูกันว่า ยาทั้ง 2 ชนิด แตกต่างกันอย่างไรมาติดตามกันได้เลย

ตรวจสอบอาการ

การรักษาอาการกรดไหลย้อน

ยาลดกรด (Antacids) คือ
ยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารให้มีความเป็นกลางมากขึ้น
ส่วนมากประกอบด้วยยาที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ได้แก่

  • อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxyide)
  • แมกนีเซียม คาร์บอเนต (Magnesium hydroxide)

มักใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ, โรคกรดไหลย้อน
และบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้

ยาธาตุน้ำขาว (Salol et Menthol Mixture) คือ ยาที่ประกอบด้วย

  • ซาลอล (Salol หรือ Phenyl Salicylate) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในลำไส้
  • น้ำมันจากผลเทียนสัตตบุษย์ (Anise oil) และ เมนทอล (Menthol) มีฤทธิ์ขับลม

ดังนั้นยาธาตุน้ำขาวจึงสามารถใช้รับประทานเพื่อทำลายเชื้อโรคในลำไส้
รักษาอาการท้องเสียจากการติดเชื้อแบบไม่รุนแรง แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ท้องอืดท้องเฟ้อ
จุกเสียด แน่นท้อง ช่วยขับลมได้

จะเห็นได้ว่า ยาธาตุน้ำขาวไม่ใช่ยาลดกรด ยาธาตุน้ำขาวไม่สามารถลดภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหารได้
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ก่อนจะกิน หรือใช้ยาอะไรหากไม่มั่นใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรจะดีกว่า
(ที่มา : กลุ่มภารกิจด้านวิเคราะห์และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

ในขณะที่บางคนอาจนิยมทานยาลดกรดชนิดผงฟู่ เพื่อลดกรดและบรรเทาอาการท้องอืด
ท้องเฟ้อ เพราะหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง
แต่เนื่องจากอาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยจากกรดเกินอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ด้วย
การทานยาที่ช่วยลดกรดเพียงอย่างเดียว จึงอาจไม่เพียงพอ

บรรเทาอาการกรดไหลย้อนจากประเทศอังกฤษ
นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยจากกรดเกินแล้ว
ยังมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนได้
ดังนั้นไม่ว่าท่านจะมีอาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน
หรือมีอาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยจากกรดเกินร่วมกับการมีกรดไหลย้อน
ก็สามารถบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงช่วยให้ท่านดำเนินกิจวัตรต่อไปโดยไร้กังวล
รับประทานครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร (2-4 ช้อนชา) หลังอาหารและก่อนนอนไม่เกินวันละ 4 ครั้ง
หากท่านจะพิจารณาเลือกซื้อยาเพื่อบรรเทาอาการแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อยด้วยตนเอง
จำเป็นต้องอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก

https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/articles201812.pdf

https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0231.pdf

คำถามที่พบบ่อย

อาการจากอาหารไม่ย่อยอาจมีตั้งแต่อาการปวดแสบร้อนกลางอกไปจนถึงจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ ท่านอาจ
รู้สึกท้องอืด แน่นท้อง หรือเวียนศีรษะในช่วงระยะสั้น อาการอาหารไม่ย่อยซึ่งบ่งชี้ว่ามีโรคร้ายแรงนั้นพบ
ได้ยากอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดีท่านควรปรึกษาแพทย์หากอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นบ่อยและมีอาการรุนแรงขึ้น