ข้าม

เรียบเรียงโดย
รศ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

6 วิธีห่างไกลกรดไหลย้อน

  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการก้มหรือโค้งตัวไปด้านหน้า
  • รับประทานบ่อยโดยแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ แทนมื้อใหญ่
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด กาแฟ ชา น้ำอัดลม
  • หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรเว้นระยะ 3-4 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน ช็อคโกแลต พืชตระกูลหอม เช่น หอมใหญ่ ต้นหอม

การรับประทานยาอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาโรคกรดไหลย้อนให้หาย อย่าหยุดยาเอง ต้องรับประทานจนครบตามแพทย์สั่ง เพราะอาการอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากหยุดยาเอง

ในระยะแรกควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง

ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์

ถ้ามีอาการเสียงแหบ หรือเจ็บคอร่วมกับมีเลือดออก กลืนของแข็งไม่ลง ไอเป็นเลือด หายใจหอบเหนื่อยมีเสียงดัง หรือมีอาการหายใจลำบาก เหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม มีอาการอ่อนแรงไปทั่ว เจ็บ

  • ท่านอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการกรดไหลย้อน การหนุนหมอนให้สูงขึ้นประมาณ 6 นิ้วและนอนตะแคงซ้ายทำให้หลอดอาหารสูงกว่ากระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถช่วยลดกรดที่ไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารได้
  • กรดไหลย้อน ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ การใช้ยาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างได้ผล โดยใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร
  • 33% ของผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังมีสาเหตุมาจากกรดไหลย้อน โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติจากภาพเอกซเรย์ของช่องปอดและโพรงไซนัส แต่สาเหตุมาจากของเหลวหรือแก๊สในกระเพาะอาหารไหลย้อนไประคายเคืองกล่องเสียงและหลอดลมโดยตรง

กรดไหลย้อนรักษาได้

ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยตามอาการ
การรับประทานยาจะช่วยบรรเทาอาการในกรณีที่อาการกรดไหลย้อนรบกวนชีวิตประจำวัน

  • ยาที่มีส่วนผสมของโซเดียม
    อัลจิเนตลดกรดและสร้างชั้นเจลป้องกันการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร
    บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตัวยาไม่เพียงออกฤทธิ์ในการลดกรดเกินในกระเพาะอาหารแต่ยังสร้างชั้นเจลกดการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารได้อย่างแท้จริง
  • ใช้ได้กับแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • มีทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำที่กินง่าย พกพาสะดวก
  • รับประทานหลังอาหารและก่อนนอน

ใช้ได้ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป

*ก่อนใช้ยาเพื่อรักษาอาการควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร

อาการที่พบบ่อยของโรคกรดไหลย้อน

  1. อาการแสบร้อนบริเวณกลางหรือยอดอก หรือลิ้นปี่
  2. รู้สึกเปรี้ยวหรือรับรสขมในปากและลำคอ
  3. อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เรอเปรี้ยวบ่อย
  4. มีความรู้สึกแน่นในช่องคอ กลืนน้ำลายลำบาก
  5. เสียงแอบ ไอ หายใจไม่ออก สำลักน้ำลายหรือน้ำย่อยในเวลากลางคืนขณะหลับ
  6. รู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

รู้หรือไม่...

คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนมากขึ้นตามอายุครรภ์ และพบว่าเมื่อเข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย
คุณแม่มากกว่า 50% มีอาการกรดไหลย้อน
ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมาก

รู้ไหม? ทำไมกรดไหลย้อนเกิดขึ้นบ่อยเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์

  1. เพราะขณะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ เช่น โพรเจสเทอโรน
    (Progesterone) ส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower Esophageal Sphincter – LES)
    คลายตัวจึงเกิดกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น
  2. ขณะตั้งครรภ์มดลูกขยายใหญ่ขึ้นเบียดพื้นที่ของกระเพาะอาหารจึงเกิดภาวะกรดไหลย้อน

บทความ 1 มกราคม 2564