บทความ ภาวะท้องผูก โดย
พ.อ.(พ) นพ.วานิช ปิยนิรันดร์
ภาวะท้องผูก มีอาการถ่ายยาก เบ่งไม่ค่อยออกรู้สึกถ่ายไม่สุด อุจจาระแข็ง
อาจเกิดจากสำไส้ใหญ่บีบตัวน้อยกว่าปกติ หรือสาเหตุอื่นๆ
ต้องใช้ตัวช่วยผู้ป่วยบางรายไม่ค่อยถ่ายห่างกันหลายๆวัน
โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการดังกล่าวได้หลายอย่าง
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการท้องผูกที่เป็นเรื้อรังมานานและไม่พบสาเหตุ โดยลำไส้ใหญ่มีการบีบหรือเคลื่อนตัวน้อยกว่าปกติ หรือมีความผิดปกติในกลไกการเบ่งอุจจาระ
- ภาวะอุดกั้นในทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ ความผิดปกติที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และทวารหนัก เช่น มีลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโป่งพอง หรือยื่นออกมาทางทวารขณะเบ่ง
- โรคประจำตัว เช่น โรคทางประสาทวิทยา โรคพาร์กินสัน โรคของไขสันหลัง เบาหวาน หรือ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่า เป็นต้น
- ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดบางชนิดที่ใช้ระงับอาการปวดรุนแรง ยาแก้ซึมเศร้า หรือ จิตประสาท ยากันชัก ยาแคลเซียม ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ เป็นต้น
การดูแลรักษา การปฏิบัติตัวทั่วไป
ในผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากภาวะหรือโรคอื่นๆ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เช่น ภาวะขาดน้ำ การไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหว การรับประทานอาหารที่มีกากเส้นใยน้อย และนิสัยการขับถ่ายที่ไม่เป็นเวลา จะทำให้มีโอกาสท้องผูกได้มากขึ้น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม คือ
- ดื่มน้ำ และ รับประทานอาหารที่มีเส้นใย
- ขับถ่ายให้ตรงเวลาและหลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ท้องผูก
- ออกกำลังกายให้เพียงพอในแต่ละสัปดาห์
กลุ่มยาที่ใช้รักษา
ยาทีเพิ่มปริมาณและขนาดอุจจาระ (Bulk-Forming Laxatives)
- เป็นเส้นใยซึ่งจะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่ นุ่มขึ้น และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ แต่จะออกฤทธิ์ได้อย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาตอบสนอง และในผู้ป่วยบางรายที่ไม่ตอบสนองอาจมีอาการจุกแน่นท้องมากขึ้นได้
ยาที่เพิ่มน้าในลำไส้ Osmotic Agents
- เป็นสารที่ไม่ถูกย่อยหรือดูดซึมในลำไส้จึงสามารถดึงดูดน้ำเข้าสู่ลำไส้และกระตุ้นการขับถ่ายยาในกลุ่มนี้บางชนิดจะทำให้มีลมมากและแน่นท้องได้ บางชนิดที่มี magnesium เป็นส่วนประกอบ
ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ Stimulant Laxatives
- ตัวอย่างในกลู่มนี้ได้แก่ มะขามแขก (senna) ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นการขับสารน้ำและเกลือแร่เข้าสู่ลำไส้และกระตุ้นการบีบเคลื่อนตัวของลำใส้ใหญ่ ในบางรายทีตอบสนองมากเกินไป อาจมีอาการปวดเกร็งท้องหรือเสียสารเกลือแร่ทางอุจจาระได้ อย่างไรก็ดี ยาระบายมะขามแขกเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีข้อดีคือ
-
- ทำให้ผู้ป่วยสามารถขับถ่าย บรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างรวดเร็วภายใน 8 ชั่วโมง
- สามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดยาได้สะดวกรวดเร็ว ตามการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย
- ใช้ได้อย่างปลอดภัย ในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เริ่ม ประทานอาหารได้แล้วตามคำแนะนำของแพทย์
ยาสวน (Enema)
- สามารถช่วยกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้ขับถ่ายได้รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาในการเบ่งขับถ่าย (defecatory disorders) หรือมีอุจจาระคั่งค้างเหนือทวารหนัก อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้เป็นประจำในผู้สูงอายุ เนื่องจากยากลุ่มนี้มี สาร phosphate สูง และอาจมีการระคายเคืองลำไส้ได้