จากพลการวิจัยในประเทศอังกฤษพบว่า 39% ของสตรีมีครรภ์ในไตรมาสที่ 2 และ
72% ของสตรีมีครรภ์ในไตรมาสที่ 3
จะมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อย ซึ่งเป็นอาการหลักของโรคกรดไหลย้อน เราจึงนําวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน และรักษาโรคกรดไหลย้อน มาแนะนําคุณแม่ตั้งครรภ์
สาเหตุและอาการ
โรคกรดไหลย้อนในคนท้อง มีการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนต่างๆ หลายชนิด เช่น โปรเจสติน (Progestin) ส่งผลให้การทํางานของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ทํางานได้ช้าลง จึงมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้สูงขึ้น ประกอบกับ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ มดลูกที่ใหญ่ขึ้น ยังเบียดบัง พื้นที่ของกระเพาะอาหารทําให้ความจุของกระเพาะอาหารน้อยลง โอกาสการเกิดภาวะกรดไหลย้อนจึงมากขึ้นนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีกด้วย
อาการแสบร้อนกลางอกระหว่างตั้งครรภ์มักมีสาเหตุจาก
- การหลั่งฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดในกระเพาะอาหารคลายตัวออก
- ครรภ์โตขึ้นเบียดกระเพาะอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้ง่าย
- กินอิ่มแล้วเอนตัวลงนั่งหรือนอนเมื่อครรภ์โตขึ้นอาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้
อาการแสบร้อนกลางอกระหว่างตั้งครรภ์มีอาการใดบ้าง
- ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรือลำคอภายหลังรับประทานอาหาร
- มีของเหลวรสเปรี้ยว เค็ม หรือขม ไหลขึ้นมาที่ลำคอร่วมกับมีอาการกลืนยาก
- เวียนศีรษะ
- หายใจมีเสียงหวีด
- กลืนอาหารยากหรือปวดเมื่อยเมื่อกลืนอาหาร
คำถามที่พบบ่อย
การรักษา
อาการแสบร้อนกลางอกระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องธรรมดา การรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมีอยู่หลายวิธี ยาบรรเทาอาการกรดไหลย้อน สูตรเพิ่มปริมาณอัลจิเนตเหมาะสมที่สุดสำหรับสตรีมีครรภ์เนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร
ท่านอาจพิจารณาปรับวิธีการดำเนินชีวิต ดังนี้:
- รับประทานอาหารมื้อย่อยบ่อยครั้งแทนการรับประทานสามมื้อใหญ่
- ระมัดระวังท่าทาง การยืดหลังตรงจะช่วยได้มากโดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหาร